Monday, February 4, 2013

โครงสร้างของชบา



   ชบามีถิ่นกำเนิด จาก ประเทศจีน ที่มีความผันแปรทั้งรูปทรงของใบ ลำต้น และดอกมาก ตลอดจนปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย จากความสวยงามของดอกทำให้ได้รับสมญาว่า Queen of Tropic Flower หรือ ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน เป็นดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซียและจาไมก้า และเป็นดอกไม้ประจำรัฐฮาวาย ส่วนในศาสนาฮินดูถือว่าเป็นดอกไม้ของเจ้าแม่กาลี

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) : Hibiscus syriacus L
ชื่อสามัญ (Common name) : Chinese rose , Rose of Sharon , Hibiscus
ชื่อท้องถิ่น (Lacal name) : ดอกใหม่ แดงใหม่ ชุมบา
 
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ (Scientific classification)
Kingdom: Plantae
Subkingdom: Viridaeplantae
Phylum: Tracheophyta
Subphylum: Euphyllophytina
Infraphylum: Radiatopses
Class: Magnoliopsida
Subclass: Dilleniidae
Superorder: Malvanae
Order: Malvales
Family: Malvaceae
Subfamily: Malvoideae
Tribe: Hibisceae
Genus: Hibiscus
Species : Hibiscus syriacus

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
    ชบาเป็นไม้พุ่มขนาด 1-3 เมตร อาจสูงได้ถึง 7-10 เมตร ใบรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมเรียว ขอบใบจักหรือขอบใบเรียบ ดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว ชบาเป็นดอกที่สมบูรณ์ ดอกมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบเลี้ยงมีสีเขียว กลีบดอกมีหลายสี เช่น สีขาว ม่วง เหลือง ส้ม ชมพู แดง มีทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก ถ้าดอกชั้นเดียวจะมี 5 กลีบ ชบามีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้เป็นดอกยาวยื่นขึ้นมากลางดอก ปลายสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย แยกเป็น 5 แฉกสีแดง เกสรตัวผู้ติดรอบๆ
สรรพคุณ
ดับร้อนและแก้ไข้ : ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา : ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นเชื้อรา
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก : ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม : ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

วิสัยพืช (Plant habit) : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น เปลือกสีเทาปนน้ำตาล
ฤดูที่ดอกบาน (Bloom Time) : ตลอดปี
 

ชนิดของใบ (Leaf type) : เป็นใบเดี่ยว (Simple leaf) มีแผ่นใบเพียงใบเดียวบนก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น


การเรียงตัวของเส้นใบ (Leaf Venation) : เส้นใบร่างแหแบบขนนก
(pinnately  netted  venation)  เส้นใบแตกจากเส้นกลางใบออกไปทั้งสองข้าง

รูปร่างของใบ (Leaf shape) :  ใบรูปไข่กว้าง  (Ovate) แผ่นใบรูปคล้ายไข่ ซึ่งมีส่วนกว้างที่สุดของแผ่นใบค่อนมาทางฐานใบแล้วค่อยๆเรียวไปทางปลายใบ  

รูปร่างปลายใบ (Leaf Apex) : แหลม (Acute) ปลายใบจะค่อยๆเรียวเข้าบรรจบกัน ลักษณะเป็นมุมแหลม

รูปร่างฐานใบ (Leaf Base) : รูปป้าน, มน (Obtuse) ฐานใบโค้งแคบ
ขอบใบ (Leaf Margin) : ขอบเรียบ (Entire) ขอบใบเรียบเป็นเส้นเดียวกันตลอด
การเรียงตัวของใบ (Leaf Arrangement) : ใบเรียงสลับ (Alternate) การเรียงใบกับลำต้นแบบสลับและไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน


โครงสร้างของใบชบา USB microscope X230

โครงสร้างของต้นชบา USB microscope X50

โครงสร้างของรากชบา USB microscope X50

แหล่งอ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B2_%E0%B9%84%...
http://www.klongdigital.com/webboard3/21280.html
http://web3.dnp.go.th/botany/BFC/leaf.html#apex
http://zipcodezoo.com/Plants/H/Hibiscus_syriacus/
http://www.thainame.net/project/chaba337/sappekoon.html

No comments:

Post a Comment