Monday, February 4, 2013

ดอกชบาช่วยขจัดไขมันในหลอดเลือด

ดอกชบาช่วยขจัดไขมันในหลอดเลือด



สารสกัด จากดอกชบาให้ผลเหมือนไวน์แดงและชา ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมากในการใช้เพื่อป้องกันและแม้แต่ใช้รักษา โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นผลมาจากคอเรสเตอรอล

ดร.ฉัว-จง หวาง หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยชุงซาน ในไต้หวัน เปิดเผยว่า ดอก ชบามีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยควบคุมระดับไขมันคอเรสเตอรอลในหลอดเลือดได้ โดยสรรพคุณของสารสกัดจากดอกชบาที่ได้ สามารถลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อตัวของไขมันภายในหลอดเลือด ซึ่งจากการศึกษากับหนูทดลอง ทีมงานยืนยันว่าระดับไขมันในหนูทดลองลดลงอย่างมาก

ทั้งนี้ คอเรสเตอรอลในเลือด ประกอบด้วยไขมันที่เป็นโทษต่อร่างกายคือ แอลดีแอลที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย เช่น สมอง (เกิดอัมพาต) หัวใจ (เกิดโรคหัวใจขาดเลือด) ไต (เกิดไตวาย) อวัยวะเพศ (หย่อนสมรรถภาพทางเพศ) ส่วนไขมันอีกชนิด หรือที่เรียกว่า เอชดีแอล เป็นไขมันที่เป็นประโยชน์ เพราะจะช่วยนำเอาไขมันที่สะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดออกมา แต่ทำงานช้ากว่าแอลดีแอล

แต่วิธีที่ดีที่สุดก็ คือ การทานรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ.

สารสกัด จากดอกชบาให้ผลเหมือนไวน์แดงและชา ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมากในการใช้เพื่อป้องกันและแม้แต่ใช้รักษา โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นผลมาจากคอเรสเตอรอล

ดร.ฉัว-จง หวาง หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยชุงซาน ในไต้หวัน เปิดเผยว่า ดอก ชบามีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยควบคุมระดับไขมันคอเรสเตอรอลในหลอดเลือดได้ โดยสรรพคุณของสารสกัดจากดอกชบาที่ได้ สามารถลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อตัวของไขมันภายในหลอดเลือด ซึ่งจากการศึกษากับหนูทดลอง ทีมงานยืนยันว่าระดับไขมันในหนูทดลองลดลงอย่างมาก

ทั้งนี้ คอเรสเตอรอลในเลือด ประกอบด้วยไขมันที่เป็นโทษต่อร่างกายคือ แอลดีแอลที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย เช่น สมอง (เกิดอัมพาต) หัวใจ (เกิดโรคหัวใจขาดเลือด) ไต (เกิดไตวาย) อวัยวะเพศ (หย่อนสมรรถภาพทางเพศ) ส่วนไขมันอีกชนิด หรือที่เรียกว่า เอชดีแอล เป็นไขมันที่เป็นประโยชน์ เพราะจะช่วยนำเอาไขมันที่สะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดออกมา แต่ทำงานช้ากว่าแอลดีแอล

แต่วิธีที่ดีที่สุดก็ คือ การทานรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ.

โครงสร้างของชบา



   ชบามีถิ่นกำเนิด จาก ประเทศจีน ที่มีความผันแปรทั้งรูปทรงของใบ ลำต้น และดอกมาก ตลอดจนปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย จากความสวยงามของดอกทำให้ได้รับสมญาว่า Queen of Tropic Flower หรือ ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน เป็นดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซียและจาไมก้า และเป็นดอกไม้ประจำรัฐฮาวาย ส่วนในศาสนาฮินดูถือว่าเป็นดอกไม้ของเจ้าแม่กาลี

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) : Hibiscus syriacus L
ชื่อสามัญ (Common name) : Chinese rose , Rose of Sharon , Hibiscus
ชื่อท้องถิ่น (Lacal name) : ดอกใหม่ แดงใหม่ ชุมบา
 
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ (Scientific classification)
Kingdom: Plantae
Subkingdom: Viridaeplantae
Phylum: Tracheophyta
Subphylum: Euphyllophytina
Infraphylum: Radiatopses
Class: Magnoliopsida
Subclass: Dilleniidae
Superorder: Malvanae
Order: Malvales
Family: Malvaceae
Subfamily: Malvoideae
Tribe: Hibisceae
Genus: Hibiscus
Species : Hibiscus syriacus

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
    ชบาเป็นไม้พุ่มขนาด 1-3 เมตร อาจสูงได้ถึง 7-10 เมตร ใบรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมเรียว ขอบใบจักหรือขอบใบเรียบ ดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว ชบาเป็นดอกที่สมบูรณ์ ดอกมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบเลี้ยงมีสีเขียว กลีบดอกมีหลายสี เช่น สีขาว ม่วง เหลือง ส้ม ชมพู แดง มีทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก ถ้าดอกชั้นเดียวจะมี 5 กลีบ ชบามีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้เป็นดอกยาวยื่นขึ้นมากลางดอก ปลายสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย แยกเป็น 5 แฉกสีแดง เกสรตัวผู้ติดรอบๆ
สรรพคุณ
ดับร้อนและแก้ไข้ : ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา : ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นเชื้อรา
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก : ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม : ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

วิสัยพืช (Plant habit) : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น เปลือกสีเทาปนน้ำตาล
ฤดูที่ดอกบาน (Bloom Time) : ตลอดปี
 

ชนิดของใบ (Leaf type) : เป็นใบเดี่ยว (Simple leaf) มีแผ่นใบเพียงใบเดียวบนก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น


การเรียงตัวของเส้นใบ (Leaf Venation) : เส้นใบร่างแหแบบขนนก
(pinnately  netted  venation)  เส้นใบแตกจากเส้นกลางใบออกไปทั้งสองข้าง

รูปร่างของใบ (Leaf shape) :  ใบรูปไข่กว้าง  (Ovate) แผ่นใบรูปคล้ายไข่ ซึ่งมีส่วนกว้างที่สุดของแผ่นใบค่อนมาทางฐานใบแล้วค่อยๆเรียวไปทางปลายใบ  

รูปร่างปลายใบ (Leaf Apex) : แหลม (Acute) ปลายใบจะค่อยๆเรียวเข้าบรรจบกัน ลักษณะเป็นมุมแหลม

รูปร่างฐานใบ (Leaf Base) : รูปป้าน, มน (Obtuse) ฐานใบโค้งแคบ
ขอบใบ (Leaf Margin) : ขอบเรียบ (Entire) ขอบใบเรียบเป็นเส้นเดียวกันตลอด
การเรียงตัวของใบ (Leaf Arrangement) : ใบเรียงสลับ (Alternate) การเรียงใบกับลำต้นแบบสลับและไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน


โครงสร้างของใบชบา USB microscope X230

โครงสร้างของต้นชบา USB microscope X50

โครงสร้างของรากชบา USB microscope X50

แหล่งอ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B2_%E0%B9%84%...
http://www.klongdigital.com/webboard3/21280.html
http://web3.dnp.go.th/botany/BFC/leaf.html#apex
http://zipcodezoo.com/Plants/H/Hibiscus_syriacus/
http://www.thainame.net/project/chaba337/sappekoon.html

ดอกชบา



ชื่อสามัญ                                Chinese rose

ชื่อวิทยาศาสตร์                        Hibiscus rosa sinensis.
ตระกูล                                    MALVACEAE
ถิ่นกำเนิด                                จีน อินเดียและฮาวาย
ลักษณะทั่วไป
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสม พันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย
การดูแล
แสง                          ชอบแสงแดดมาก
น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน                           เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
การขยายพันธ์              ตอน ปักชำ
โรคและแมลง               ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่
การป้องกันกำจัด         ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก
ลักษณะเด่นของพืชชนิดนี้
คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมี รูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลือง รูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู
ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา
โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ
2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง
3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก
สรรพคุณทางยาและประโยชน์
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของ อินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว – นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
  • ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่าง ละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
  • ดับร้อนและแก้ไข้ – ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
  • รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต – ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
  • รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก – ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
  • บำรุงผม – ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม